My First Website
ทดลองสร้าง website อย่างง่าย ด้วย Nginx
Last updated
ทดลองสร้าง website อย่างง่าย ด้วย Nginx
Last updated
มียอดคงเหลือใน Project มากกว่า 0 บาท (ขั้นตอนการเติมเงินเข้าสู่ Project)
log in และ กดเลือก project ที่ต้องการใช้งาน ที่มียอดเงินคงเหลือมากกว่า 0 บาท
ถ้าใน project มี VPC network และ security group สำหรับ SSH และ HTTP แล้ว ให้ข้ามไปที่ข้อ 4.
ไปที่หน้า VPC networks ภายใต้กลุ่ม network & security เพื่อสร้าง VPC network สำหรับ web server
ตั้งชื่อ และกำหนด CIDR เช่น 192.168.1.0/24 และกด confirm เพื่อสร้าง VPC network
ไปที่หน้า security groups ภายใต้กลุ่ม network & security เพื่อสร้าง security group พื้นฐาน ที่จำเป็นในการ SSH และเปิดใช้งาน HTTP บน port ของ web server
เลือก confirm เพื่อสร้าง default security group ทั้งหมด
เข้าหน้า instances ภายใต้กลุ่ม instance เพื่อสร้าง instance ที่จะมาเป็น web server
ใน step แรก ให้เลือก image Ubuntu 20.04 จาก distribution image
ใน step machine type เลือก machine type ชื่อ coa.large.v1 ซึ่งเป็น machine type ขนาดเล็ก โดยหลักแล้ว เมื่อเราจะ deploy service ต่างๆ เรามักจะเริ่มจากขนาดเล็ก เพื่อให้ประหยัดงบประมาณในการทดสอบ และเมื่อมั่นใจว่าใช้ได้แล้ว จึงทำการ resize ให้มีทรัพยากรเพียงกับกับการใช้งาน
ใน step instance detail เราสามารถเลือกจำนวนของ instance ที่ต้องการจะ launch และ ตั้งชื่อให้ instance แต่ละตัวได้ โดยใน workshop นี้ เราจะ launch instance แค่ตัวเดียว โดยจะตั้งชื่อว่า my-fisrt-web
ใน step storages เราสามารถกำหนดได้ ว่าต้องการ storage ช้าหรือเร็ว จำนวน และขนาดเท่าไหร่ โดยใน workshop นี้ เราจะใช้ค่า default ของ image Ubuntu 20.04 โดยไม่ต้องแก้ไขอะไร
ใน step networks เราสามารถกำหนด VPC network ที่ instance จะใช้งาน โดยระบบจะทำการเลือก VPC network ที่มีอยู่ หรือที่สร้างไว้ใน ขั้นตอนที่ 2. ให้
นอกจากนี้เรายังจะต้องเปิดใช้งาน attach external IP บน port ของ instance อีกด้วย เพื่อให้ web server ของเรา สามารถเข้าใช้งานได้จาก web browser ภายนอกได้
ใน step security จะเป็นการกำหนด security group โดยให้เลือก default security group ที่ชื่อว่า SSH เพื่อใช้ในการ access เข้าไปยัง server เพื่อติดตั้ง web server และ HTTP เพื่อให้ web server สามารถเข้าถึงได้ผ่าน protocol HTTP ของ browser
รวมถึงกำหนด password ในการ SSH access เข้าไปจัดการ server ด้วย
และใน step สุดท้าย launch summary จะเป็นการ review setting ต่างๆที่เรากำหนดไว้ ก่อนที่สั่ง launch โดยตรวจสอบว่า จะต้องเลือก image Ubuntu 20.04, มี external IP และมี security group อย่างน้อยคือ SSH และ HTTP
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามที่ต้องการ ให้กดที่ปุ่ม launch เพื่อเริ่มการ launch instance
หลังกดปุ่ม launch ระบบจะทำการสร้าง instance ให้รอจนกว่า instance status กลายเป็น active ก่อนทำขั้นตอนถัดไป
ตรวจสอบว่า instance พร้อมใช้งานหรือยังด้วยการเข้าไปดู log ของ instance
โดยเข้าสู่หน้า instance overview ผ่านการกดที่ชื่อของ instance และเลือก tab log
รอจนกว่าจะขึ้น log ว่า Finished: Execute cloud user/final scripts
เปิด program ที่จะใช้ในการ SSH เข้าสู่ instance โดยใน workshop นี้ จะใช้งาน Ternimal ที่มีมาให้แล้วบน MacOS
สำหรับ Windows ให้ติดตั้ง program PuTTY เพื่อใช้งานในการ SSH
บน Terminal ให้ใส่ command ด้านล่างนี้ เพื่อทำการ SSH โดยตัวเลขหลังเครื่องหมาย "@" ให้เป็น external IP ของ instance ที่พึ่งสร้าง
หากใน PC ที่ใช้ มี public key อยู่ ระบบจะมีการถามว่า การ connect นี้ ไม่สามารถใช้งาน public key ที่ลงทะเบียนไว้ได้ ซึ่งใน workshop นี้ เราจะใช้งาน password กัน ดังนั้นให้ พิม "yes" และกดปุ่ม enter เพื่อดำเนินการต่อ
พิมรหัสผ่านและกด enter เพื่อดำเนินการต่อ
ติดตั้ง service Nginx โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
เปลี่ยนสิทธิเข้าใช้งานให้เป็น root เพื่อให้สามารถติดตั้ง service ต่างๆ ได้ โดยใช้ command ด้านล่าง
จะเห็นว่าชื่อของ user เปลี่ยนไป
เมื่อได้สิทธิ root แล้ว ให้ทำการ update รายการของ service ที่มีให้ ติดตั้ง โดยใช้ command ด้านล่าง
จากนั้นเราจะทำการทดสอบก่อนที่จะติดตั้ง web server โดยการเข้าถึง external IP ของ instance นี้ ผ่าน browser
จะเห็นว่าเราไม่สามารถเข้าใช้งาน website จาก IP ดังกล่าวได้ ดังนั้นเราจะมาติดตั้ง web server เพื่อให้ใช้งานได้ โดยเราจะใช้ Nginx ที่เป็น web server ที่เบา และได้รับความนิยมอย่างมาก โดยใช้ command ด้านล่าง
ระบบจะแสดงรายการของ package ที่เป็น dependency ของ Nginx ที่จะต้องติดตั้งไปด้วย ให้พิม Y และกดปุ่ม enter เพื่อดำเนินการต่อ
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เราตรวจสอบว่า service Nginx ของเรา run หรือยังโดยใช้ command systemctl เพื่อ list รายการ service ทั้งหมด และต่อด้วย | grep nginx เพื่อค้นหา service nginx เท่านั้น
จะเห็นว่า service Nginx ของเรา active และ running อยู่ ทีนี้ให้กลับไปที่ browser และกรอก external IP ลงไปอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่า web server ของเราทำงานหรือยัง
เมื่อ browser แสดงดังรูป ก็แสดงว่า web server ของเราทำงานได้แล้ว
เมื่อ website ของเรา ใช้งานได้แล้ว แต่ยังเป็นแค่หน้า default ของ Nginx อยู่ เราจะแก้ไขไฟล์นี้ได้โดยการไปที่ directory ของ file โดยใช้ command
และแสดงรายการของ file ใน directory นี้โดยใช้ command
เริ่มแก้ไข file โดยใช้ nano ด้วย command
ระบบจะแสดง nano text editer ขึ้นมา พร้อมเนื้อหาใน file ดังกล่าว ซึ่งเราจะสามารถแก้ไข file ให้เป็นอย่างไรก้ได้ตามต้องการ
จากนั้นให้กดปุ่ม command + x เพื่อออกจาก nano และกด Y เพื่อ save การเปลี่ยนแปลง และกด enter อีกครั้งเพื่อใช้ชื่อ file เดิม
จากนั้นให้กลับไปที่ browser ที่เปิด external IP ของ instance เอาไว้ แล้ว refresh เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงของ webpage ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้น website แรกบน Nipa Cloud Space ของคุณ